บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
วันอังคารที่ 25 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
สรุปความรู้ที่ได้รับ ดังนี้
^^ เด็กสมาธิสั้น (ADHD) ^^
การนำไปประยุกต์ใช้
1. หากเด็กเริ่มยุกยิก หรือไปออกจากกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ ครูจะต้องสังเกตว่าเด็กลุกไปทำอะไร
อาจมีช่วงที่เด็กเหม่อลอย ครูควรเรียกชื่อ แล้วสัมผัสโดยลูกศีรษะ, จับมือ, จับแขน แล้วชวนให้
ไปทำงานต่อโดยจูงเด็กกลับไปทำงาน
2. ให้ความสนใจ เมื่อเด็กทำตัวดี ให้คำชื่นชมมากๆ
3. หากเด็กซนมากๆ ครูต้องลดแรงขับ เช่น ไม่ให้ออกไปเล่น เพราะหนูทำผิด
4. การพูดคุยกับเด็กให้พูดสั้นๆกระชับ เข้าใจง่าย เช่น "น้องปลาหยุด ไม่ทำ"
4. การพูดคุยกับเด็กให้พูดสั้นๆกระชับ เข้าใจง่าย เช่น "น้องปลาหยุด ไม่ทำ"
5. สามารถจัดกิจกรรมบำบัดให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสม เช่น ปั้นดินน้ำมัน เพื่อลดแรงขับ,
เดินบนกระดาษไม้ หรือทางแคบๆ เพื่อควบคุมตนเอง, แกว่งชิงช้า เพื่อให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย เป็นต้น
6. สามาถจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เหมาะสมกับเด็กได้ เช่น การจัดวางของเล่นในมุมต่างๆ
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากที่สุด เพราะจะได้ไม่เป็นสิ่งกระตุ้น หรือดึงดูดให้เด็กเข้าไปหยิบเล่นซน
ขณะที่ยังไม่ใช่เวลาเล่น เด็กจะได้มีสมาธิในกิจกรรมที่กำลังทำอยู่
การประเมิน
การประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน และจดบันทึกเพิ่มเติม
ที่อาจารย์สอน ชอบดูวีดีโอที่อาจารย์นำมาสอน เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
เป็นศูนย์ EI มีบุคคลากรที่ทำงานกับเด็กพิเศษ ให้การช่วยเหลือ เลี้ยงดูเด็ก
และสร้างเสริมพัฒนาการให้เด็กพิเศษ
ดูแล้วรู้สึกอยากไปช่วยจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษมากค่ะ
การประเมินเพื่อน : เพื่อนบางคนเข้าเรียนตรงเวลาบ้าง และบางคนเข้าสายบ้างเล็กน้อย
แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน มีการโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นเมื่ออาจารย์ถาม
ให้ความร่วมมือในการแสดงบทบาทสมมตต่างๆ เช่น ออย เล่นเป็นเด็กสมาธิสั้น
ทำให้เพื่อนๆหัวเราะ และบรรยากาศในห้องเรียนเกิดความสนุกสนาน
การประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์มีเทคนิกในการสอนที่
ใครได้เรียนต้องบอกเลยว่า ติดใจ ^^ เพราะอาจารย์สอนสนุกทุกครั้ง
เอกสารประกอบการเรียนมีเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
อาจารย์สอนเทคนิกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกับเด็กพิเศษ
มีการแสดงบทบาทสมมต เพื่อให้นักศึกษาได้เห็น และเข้าใจมากขึ้น
ซึ่งจะทำให้นักศึกษาจดจำได้ดีกว่าการสอนที่บรรยายล้วนๆ
มีสื่อคือ วีดีโอที่ให้ความรู้ และน่าสนใจมาก สามารถนำไปใช้ได้จริงกับเด็กพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น